วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555

องค์ประกอบสำคัญของสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

 องค์ประกอบสำคัญของสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 
      1. เนื้อหาสาระ (content)
      2. การออกแบบระบบการเรียนการสอน (instructional design)
      3. การให้ผลป้อนกลับ (feedback)
      4. การออกแบบหน้าจอ (screen design)
 
     เนื้อหาบทเรียนที่ดีจะต้องมีความถูกต้องตามหลักวิชา เป็นปัจจุบันไม่ล้าสมัย โครงสร้างเนื้อหาชัดเจน มีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง นั่นคือควรจะต้องมีการออกแบบบทเรียนที่ดี นำทางผู้เรียนให้เกิดความเข้าใจ และจำเนื้อหาได้ มีการจัดระบบเนื้อหาสัมพันธ์กับความรู้เดิมหรือประสบการณ์เดิมของผู้เรียน หรือปูพื้นความรู้เดิมเพื่อเชื่อมโยงไปสู่ความรู้ใหม่ มีลำดับขั้นตอนของการนำเสนอความยากง่าย มีการนำเสนอวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนรู้ล่วงหน้าถึงประเด็นสำคัญของ เนื้อหา เค้าโครงเนื้อหาอย่างกว้างๆ ผู้เรียนจะสามารถผสมรายละเอียดส่วนย่อยให้สัมพันธ์กับเนื้อหาส่วนใหญ่ทำให้ ผลการเรียนรู้มีประสิทธิภาพขึ้น ที่สำคัญเนื้อหาควรจะนำเสนอได้ตรงและครอบคลุมตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ เหมาะสมกับระดับความยากง่ายของผู้เรียนและมีการใช้ภาษาที่ถูกต้องทั้งตัว สะกด ไวยากรณ์ข้อความและการออกเสียง

     ตามหลักจิตวิทยา การดึงดูดความสนใจถือเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญที่จะนำพาให้ผู้เรียนไปสู่พฤติกรรม เป้าหมาย ซึ่งระบบการเรียนการสอนที่ดีควรแสดงถึงความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบคือ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ไม่ได้ลอกเลียนแบบใครและปฏิบัติได้จริงไม่ใช่สิ่ง เพ้อฝัน มีการปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนอย่างเหมาะสม สนองความแตกต่างระหว่างบุคคล ทั้งผู้เรียนอ่อน ปานกลาง และเก่ง ให้โอกาสผู้เรียนควบคุมลำดับการเรียนรู้อย่างเหมาะสม มีแบบฝึกปฏิบัติหรือแบบฝึกหัดและการประเมินผลที่ครอบคลุมจุดประสงค์ เพราะการวัดและการประเมินผลจะเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนการสอนที่ไม่ ควรจะขาดหายไป การวัดและการประเมินผลก่อนเริ่มต้นเรียนเป็นการกระทำเพื่อจัดวางตำแหน่งของ ผู้เรียนเพื่อให้ทราบว่าผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานจำเป็นเพียงพอต่อการเรียน หรือไม่

     สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะต้องมีการยืดหยุ่นมากพอที่ผู้เรียนจะมีอิสระในการ ควบคุมการเรียนของตนได้ ซึ่งมีอยู่หลายลักษณะ เช่น การควบคุมเนื้อหา การควบคุมลำดับของการเรียน และการควบคุมการฝึกปฏิบัติหรือการทดสอบ หรือการโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ซึ่งก็คือผู้สอนในขณะนั้น การโต้ตอบที่ดีจะต้องมีการวิเคราะห์ออกแบบให้เหมาะสม สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับบทเรียนและเอื้ออำนวยให้เกิดการเรียนรู้อย่างมี ประสิทธิภาพ ซึ่งตามแนวคิดของสกินเนอร์ (Skinner) การให้ผลป้อนกลับจะเป็นการเสริมแรง(reinforcement) อย่างหนึ่ง ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนได้เป็นอย่างดี ลักษณะของการให้ผลป้อนกลับโดยทันทีที่จะช่วยแยกให้เห็นถึงความแตกต่าง ระหว่างสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับสื่อการนำเสนออื่น คือ การให้ผลป้อนกลับในลักษณะของการประเมินความเจ้าใจของผู้เรียน

     สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ดีก็คือรูปลักษณ์ที่เราเห็นที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ แต่ก็ไม่ใช่เพียงการมองผ่านแค่บางหน้าจอ หากต้องเป็นการมองเพื่อพิจารณาต่อเนื่องตลอดทั้งเรื่อง ในสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ดีควรจะมีการจัดวางองค์ประกอบที่หน้าจอได้อย่าง เหมาะสม สวยงาม ง่ายต่อการใช้รูปแบบตัวอักษรมีขนาด สี ชัดเจน อ่านง่าย เหมาะสมกับวัยผู้เรียน ใช้สีได้อย่างเหมาะสมกลมกลืน สื่อความหมายสอดคล้องกับแนวของเนื้อหา การใช้ปุ่มข้อความ หรือแถบข้อความ หรือรูปภาพ ชัดเจนเหมาะสมและถูกต้อง เพราะปุ่มจะเป็นสิ่งกำหนดการเดินทาง เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าไปยังบทเรียนได้ตามความประสงค์การใช้กราฟิกเป็น ปุ่มกำหนดทิศทางทำให้ดูน่าสนใจ แต่ข้อเสียคือหากใช้ขนาดไม่เหมาะสมอาจใช้เวลาในการถ่ายโอนข้อมูลนาน ดูเกะกะ และถ้าใช้เอฟเฟ็กต์ในการแสดงปุ่มมากไป ผู้ใช้ก็จะไม่เข้าใจ จึงควรมีความสม่ำเสมอในการใช้ปุ่ม สัญลักษณ์ต่างๆ เป็นสากลเช่น การกำหนดทิศทางใช้ลูกศร ผู้ใช้จะเข้าใจง่ายสะดวกขึ้น


ที่มาข้อมูล : สมควร เพียรพิทักษ์ วารสารวิชาการ ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มีนาคม 2548
ที่มาเว็บ : https://www.myfirstbrain.com

วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2555

Rubric Scoring.


คะแนนแบบรูบริค
ความหมายของคะแนนแบบรูบริค
“Rubric” หมายถึง กฎ หรือ กติกา ดังนั้น Rubric Assessment หมายถึง แนวทางการให้คะแนนที่สามารถจำแนกระดับต่างๆ ของความสำเร็จในการเรียน หรือการปฏิบัติของผู้เรียนได้อย่างชัดเจน จากระดับดีมากจนกระทั่งถึงระดับที่ต้องปรับปรุงแก้ไข
คะแนนแบบรูบริค เป็นชุดของแนวทางการให้คะแนนผลงานหรือผลจากการปฏิบัติ เพื่อใช้ประเมินคุณภาพจากการปฏิบัติงานของผู้เรียน
คะแนนแบบรูบริค หรือกฎเกณฑ์การให้คะแนน เป็นชุดของแนวทางให้คะแนนผลการปฏิบัติเรื่องใดเรื่องหนึ่งสำหรับใช้ประเมินคุณภาพของการปฏิบัติของผู้เรียน

จุดประสงค์การให้คะแนนแบบรูบริค
1. เพื่อใช้ประเมินกระบวนการ (Process)
2. เพื่อใช้ประเมินผลผลิต / ผลงาน (Product)
3. เพื่อใช้ประเมินการปฏิบัติ (Performance)

รูปแบบมาตรประเมินค่าของการให้คะแนนแบบรูบริค
มีรูปแบบมาตรประเมินค่า 3 ลักษณะ ดังนี้

1. การให้คะแนนแบบภาพรวม (Holistic Scoring)
เป็นการให้คะแนนโดยพิจารณาจากภาพรวมของผลงาน โดยพิจารณาจากองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดที่ระบุถึงผลงานที่คาดหวังมาจัดทำรายการ ระบุคำอธิบายที่ใช้บรรยายลักษณะของเกณฑ์แต่ละรายการอย่างต่อเนื่องเป็นภาพรวมที่แสดงให้เป็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนในแต่ละระดับที่จะนำไปใช้ในการประเมินผลสรุป (Summative Evaluation)
2. การให้คะแนนแบบแยกส่วน (Analytic Scoring)
เป็นการให้คะแนนโดยพิจารณาแต่ละองค์ประกอบของงานที่มีลักษณะการตอบหรือพฤติกรรมต่างๆ ที่แต่ละองค์ประกอบจะต้องกำหนดเกณฑ์การให้คะแนนโดยมีคำอธิบายบรรยายถึงลักษณะการตอบหรือพฤติกรรมที่ให้คะแนนแต่ละระดับให้ชัดเจน ที่จะนำไปใช้ในการประเมินผลย่อย (Formative Evaluation)
3. การให้คะแนนแบบองค์รวมแล้วจำแนกรายละเอียด (Annotated Scoring) เป็นการกำหนดคะแนนในภาพรวมก่อนแล้วค่อยระบุจุดแข็งและจุดอ่อนสนับสนุนการให้คะแนนแบบองค์รวม

ตัวอย่าง

ขั้นตอนในการสร้างเกณฑ์การให้คะแนนแบบรูบริค
1. กำหนดองค์ประกอบของเกณฑ์แบบรูบริค
2. นิยามปฏิบัติการของเกณฑ์ที่สอดคล้องกับการปฏิบัติงานนั้น
3. กำหนดจำนวนระดับของเกณฑ์ที่ใช้พิจารณา
4. พิจารณาเกณฑ์ผ่าน และไม่ผ่านพร้อมคำอธิบายรายละเอียดและ/ หรือตัวอย่างงาน
5. เขียนคำอธิบายระดับที่สูงกว่าเกณฑ์หรือต่ำกว่าเกณฑ์ตามลำดับ
6. ตรวจสอบโดยคณะผู้มีส่วนร่วมหรือผู้เชี่ยวชาญทางการวัดผล
7. ทดลองใช้เกณฑ์ในการตรวจผลงานที่มีมาตรฐาน / คุณลักษณะตามเกณฑ์ที่กำหนด
8. หาคุณภาพของเกณฑ์
9. ปรับปรุงเกณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน

แนวทางการกำหนดเกณฑ์แบบรูบริค
โดยทั่วไปกำหนดเป็น 4-5 ระดับเกณฑ์แบบรูบริค 5 ระดับมีดังนี้
1. ระดับที่ 1: ขั้นเริ่มต้น
ค้นหา ทำตามแบบ มีข้อผิดพลาด ยังไม่เข้าประเด็น งานไม่สำเร็จ
2. ระดับที่ 2: ขั้นพัฒนา
ผลงานเป็นไปตามแบบ ไม่สมบูรณ์ มีจุดอ่อนและจุดแข็ง แต่ในภาพรวมมีจุดอ่อนมากกว่าจุดแข็ง
3. ระดับที่ 3: ขั้นทำให้ ปฏิบัติได้ (ผ่าน)
ผลงานมีมาตรฐานค่อนข้างสมบูรณ์ มีจุดแข็งมากกว่าจุดอ่อน มีทักษะ
4. ระดับที่ 4: ขั้นมั่นคง
มีความสมบูรณ์แน่นอน คงเส้นคงวา มีทักษะและยุทธศาสตร์ในการปฏิบัติ
5. ระดับที่ 5: ขั้นสมควรเป็นตัวอย่าง
มีมาตรฐาน มีความเด่นเป็นตัวอย่างได้ ริเริ่ม สร้างสรรค์

ความเที่ยงตรง
ความหมายของความเที่ยงตรง
ความเที่ยงตรง (Validity) เป็นคุณภาพของแบบทดสอบที่หมายถึงแบบทดสอบที่สามารถวัดได้ตรงตามลักษณะหรือจุดประสงค์ที่ต้องการจะวัด ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ความถนัด เจตคติ จริยธรรม บุคลิกภาพ และอื่นๆ
แบบทดสอบทุกฉบับจะต้องมีคุณภาพด้านความเที่ยงตรงจึงจะเชื่อได้ว่า เป็นแบบทดสอบที่ดีและผลที่ได้จากการวัดจะถูกต้องตรงตามที่ต้องการ

ความเที่ยงตรง มีลักษณะที่เรียกว่า วัดในสิ่งที่ต้องการวัดหมายถึง เครื่องมือวัดในสิ่งที่ต้องการวัด ไม่ใช่ต้องการวัดอย่างหนึ่งแล้วได้สิ่งอื่นมาแทน หรือวัดแล้วได้ผลที่สอดคล้องกับสภาพที่เป็นจริงใน
ปัจจุบันหรือในอนาคต

ความเที่ยงตรงในการวัดจำแนกตามคุณลักษณะหรือจุดประสงค์ที่ต้องการวัดได้ 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. ความเที่ยงตรงตามเนื้อหา (Content Validity) หมายถึง เครื่องมือที่สามารถวัดได้ตามเนื้อหาที่ต้องการจะวัด และการพิจารณาความเที่ยงตรงชนิดนี้จะใช้วิธีการวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล

ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา จำแนกเป็น 2 ชนิด
1.1 ความเที่ยงตรงเชิงเหตุผล (Logical Validity)
1.2         ความเที่ยงตรงเชิงพินิจ (Face Validity)

ความเที่ยงตรงเชิงเหตุผล เป็นความเที่ยงตรงที่ให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาว่าข้อสอบแต่ละข้อนั้น วัดได้ตรงตามตารางวิเคราะห์รายละเอียด (Table of Specifications) หรือไม่ ถ้าเป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์อิงกลุ่ม จะพิจารณาว่าแบบทดสอบฉบับนั้นมีข้อสอบแต่ละข้อตรงตามพฤติกรรมที่จะวัดและจำนวนข้อสอบสอดคล้องกับตารางวิเคราะห์รายละเอียดหรือไม่ เช่น

ตารางการวิเคราะห์รายละเอียด (Table of Specification)

สำหรับแบบทดสอบอิงเกณฑ์ ผู้เชี่ยวชาญจะพิจารณาว่า ข้อสอบของแบบทดสอบที่สร้างขึ้นนั้นวัดได้ตรงตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมหรือไม


2. ความเที่ยงตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์ (Criterion-Related Validity)
3. ความเที่ยงตรงตามโครงสร้าง (Construct Validity)

ความเชื่อมั่น (Reliability)
ความหมายของความเชื่อมั่น มีดังนี้
ความเชื่อมั่น เป็นคุณสมบัติของเครื่องมือวัดสิ่งที่ต้องการวัดไม่ว่าจะวัดกี่ครั้ง หรือวัดในสภาพที่แตกต่างกันจะได้รับผลการวัดคงเดิม
เครื่องมือการวัดผลที่ดีจะต้องมีความเชื่อมั่นได้ว่า ผลที่ได้จากการวัดจะมีความคงที่ที่ชัดเจนไม่เปลี่ยนแปลง ผลการวัดครั้งแรกเป็นอย่างไร เมื่อวัดซ้ำโดยใช้เครื่องมือวัดผลชุดเดิม จะวัดกี่ครั้งก็จะให้ผลการวัดเหมือนเดิม ใกล้เคียงกัน หรือสอดคล้องกัน

_________________________________________

ขอขอบคุณ เอกสารอ้างอิง :: http://images.moohyuk20.multiply.multiplycontent.com/attachment/0/TFexBQooCpEAABrsWXQ1/Rubric%20Scoring.pdf?key=moohyuk20:journal:9&nmid=354998178